บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมแรกที่อาจารย์ให้ทำวันนี้คือ อาจารย์จะแจกถุงมือให้คนละ1ข้าง และให้นักศึกษาใส่ถุงมือข้างที่ไม่ได้ใช้เขียนหนังสือ แล้วให้วาดรูปมือของตนเองลงบนกระดาษ โดยที่เราไม่สามารถเห็นมือข้างที่เราวาดได้ ซึ่งอาจารย์จะสื่อให้เห็นว่าถึงแม้ว่าเราจะเคยเห็นมือของเราทุกวันแต่เราก็จำไม่ได้ว่ามือเราเป็นอย่างไร เปรียบกับเด็กว่าถึงแม้เราจะเห็นเด็กทุกวันรู้จักเค้าดีอย่างไร เราก็ไม่สามารถจำพฤติกรรมเค้าได้อย่างละเอียด หากเราไม่บันทึกพฤติกรรมเค้าตลอดเวลา
นี่คือรูปวาดมือของดิฉันที่เคยเห็นมาตั้งแต่เล็กยันโตก็ยังจำรายละเอียดมือตนเองไม่ได้^^
เน้นเรื่องเทคนิคของครู
*ครูควรจำชื่อเด็กให้ได้ทุกคนทั้งชื่อเล่น ชื่อจริง-นามสกุล
*ครูควรรู้จักเด็กทุกคนให้ดี
*ให้มองเด็กที่บกพร่องเป็นเด็กปกติเหมือนเพื่อน
*พยายามคุยกับครูข้างห้องในด้านดีของเด็ก
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครู
การฝึกเพิ่มเติม
ครูควรมีการฝึกฝนตนเองเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการหาความรู้จากการอบรมระยะสั้น การเข้าร่วมการสัมนา การเรียนรู้จากสื่อต่างๆ ซึ่งเว็บโทรทัศน์ครูช่วยได้เยอะเลยทีเดียว
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- ครูควรรู้จักเด็กแต่ละคนให้ดี
- มองเด็กให้เป็น"เด็ก" >>ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนเพื่อนแต่ครูก็ควรมองเค้าให้เหมือนกับเพื่อนคนอื่นๆ
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ >> เด็กแต่ละคนไม่ค่อยต่างกันห่างอายุเท่ากัน
- แรงจูงใจ >> แต่ละคนไม่เหมือนกัน
- โอกาส >> เด็กแต่ละคนต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ซึ่งเด็กปกติย่อมมีโอกาสเยอะกว่าเด็กพิเศษ
การสอนโดยบังเอิญ
ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่มถาม เริ่มเข้ามาหาครูก่อน ยิ่งถ้าเด็กเข้ามาหาครูมากเท่าไหร่ ครูก็จะมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
>> การสอนโดยบังเอิญครูควรปฏิบัติดังนี้
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก อย่าลำคาญเด็ก
- ครูต้องมีความสนใจเด็ก
- ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
- ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
- ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
- ครูต้องมีการแบ่งเวลาในการคุยกับเด็กแต่ละคนให้ดี
- ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุก เมื่อเด็กเดินเข้ามาจะได้ไม่กลัวครู
- ให้เด็กมองว่าครูเป็นนางฟ้า
อุปกรณ์
- สื่อมีลักษณะง่ายพอที่เด็กสามารถเล่นได้ และใช้ประโยชน์ได้หลายทาง
- สื่อต้องไม่ควรแบ่งแยกเด็กเพราะเด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
- สื่อต้องไม่มีวิธีเล่นที่ตายตัว
ตารางประจำวัน
- เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ ตารางของเด็กต้องเหมือนเดิมหรืออาจเปลี่ยนแปลงนิดหน่อย
- กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
- เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นคง
- การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
- ควรคำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนะคติของครู
ความยืดหยุ่น
- ควรแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน>>สำคัญมาก
การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
- ในกิจกรรมควรแฝงการบำบัดลงไปด้วย เช่นการร้องเพลง
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถและขาดโอกาส>>แต่คนเป็นครูต้องสามารถทำให้พวกเค้าเรียนได้เหมือนคนอื่น
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้วจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจา เช่น คำชม
- การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก>>เด็กจะชอบให้ครูดูเค้า
- พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
- สัมผัสกาย>>อย่ารังเกียจเด็ก
- ให้ความช่วยเหลือและร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันเหมาะสม
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
- ครูควรให้แรงเสริมเฉพาะเรื่องที่สอนไม่ให้พร่ำเพรื่อ
การแนะนำหรือบอกบท(prompting)
- ย่อยงาน>>แบ่งงานเป็นขั้นเป็นตอนให้เด็กทำ
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวในขั้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้นไม่เร่งรัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น"
- ไม่ดุหรือตีเด็ก
การกำหนดเวลา
จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า>>ให้เด็กทำเองตั้งแต่ลำดับแรกจนลำดับสุดท้าย
- สอนแบบย้อนมาจากข้างหลัง>>ครูทำให้เด็กลำดับแรกๆแต่ให้เด็กทำเองในลำดับสุดท้าย
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูควรงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
*Time out คือการเอาเด็กออกจากกิจกรรม
ท้ายสุดของวันนี้อาจารย์ให้ร้องเพลงตามเนื้อเพลงที่อาจารย์แจก
ผู้แต่ง : อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง : อ.ตฤณ แจ่มถิน
เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
เพลง ผลไม้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธ์ุ
เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฝักทอง กะหล่ำปลี
เพลง ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู
เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
นำเทคนิคการสอนเด็กพิเศษร่วมกับเด็กปกติไปใช้ได้ในอนาคต
ได้ทราบว่าครูมีทักษะและทัศนคติต่อเด็กอย่างไร
รู้วิธีเทคนิคการเสริมแรงให้แก่เด็กอย่างถูกต้อง
นำเนื้อเพลงไปใช้ร้องขณะจัดกิจกรรมต่างๆให้กับเด็กได้
ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ
เพื่อน ทุกคนให้ความร่วมมือในขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ผู้สอน อาจารย์สอนดีเหมือนทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์และมีการนำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนการสอน ทำให้เข้าใจได้ง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น