วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่16

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 30 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
วันนี้อาจารย์ให้สอบร้องเพลงคะ โดยที่เราจะต้องออกไปจับฉลากว่าได้เพลงอะไร และวันนี้การร้องเพลงของดิฉันก็ผ่านไปได้ด้วยดีคะ
 

อนุทินครั้งที่15

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program)
          แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
          การเขียนแผน IEP
          - คัดแยกเด็กพิเศษ
          - ครูต้องรู้ปัญหาของเด็ก
          - ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ เพื่อที่จะได้ทราบว่าต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
          - เด็กสามารถทำอะไรได้ เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
          - แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
          IEP ประกอบด้วย
          - ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
          - เด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
          - ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
          - เป้าหมายระยะยาว/ระยะสั้น
          - วัน/เดือน/ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
          - วิธีการประเมินผล
          ประโยชน์ต่อเด็ก
          - ได้รับรู้ความสามารถของตน
          - มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
          - ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
          - ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉย
          ประโยชน์ต่อครู
          - เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
          - เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
          - ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
          - เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
          - ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
          ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
          ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
          1.การรวบรวมข้อมูล
          - รายงานทางการแพทย์
          - รายงานการประเมินด้านต่างๆ
          - บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
          2.การจัดทำแผน
          - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
          - กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น
          - กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
          - ต้องได้รับการรับรองแผนIEPจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
          >>การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                จุดมุ่งหมายระยะยาว
                กำหนดให้ชัดเจนแม้จะกว้าง
                จุดมุ่งหมายระยะสั้น
                - ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
                - เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วันหรือ 2-3 สัปดาห์
                - จะสอนใคร
                - พฤติกรรมอะไร
                - เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
                - พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
          3.การใช้แผน
          - เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้เป็นแผนระยะสั้น
          - นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
          - แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
          - จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน
          - ต้องมีการสังเกต รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเด็ก และความสามารถโดยคำนึงถึง
                1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
                2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการของเด็ก
                3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
          4.การประเมินผล
          - โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
          - ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
          *การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีการวัดและประเมินที่แตกต่างกัน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         นำวิธีการเขียนแผนIEPไปใช้กับเด็กพิเศษได้

ประเมินการเรียนการสอน
          ตนเอง ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ
          เพื่อน ทุกคนให้ความร่วมมือในขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
          ผู้สอน อาจารย์สอนดีเหมือนทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์และมีการนำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนการสอน ทำให้เข้าใจได้ง่ายคะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่14

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 14 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดวันสงกรานต์คะ

อนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 7 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
          เป้าหมาย
          - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
          - มีความรู้สึกดีต่อเด็ก
          - เด็กรู้สึกว่า"ฉันทำได้ ฉันทำเป็น ไม่เห็นยากเลย"
          - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
          - อยากสำรวจ อยากทดลอง
          ช่วงความสนใจ
          - ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
          - จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
          *เด็กวัย3-5ขวบมีความสนใจนาน10 นาที
          *ฝึกให้เด็กมีความสนใจ 10-15 นาที
          *ถ้าจะเล่านิทานให้เด็กฟัง พยายามหาเรื่องที่สั้นๆ
          การเลียบแบบ
          เด็กพิเศษจะเรียนรู้จากพฤติกรรมการเลียนแบบจากเพื่อน รุ่นพี่ คุณครู หรือบุคคลรอบข้าง 
          เช่น ถ้าใช้น้องออฯไปหยิบสีให้ครูหน่อย ก็ใช้บัดดี้ของน้องออฯด้วย พยายามจับให้คู่กัน ระหว่างเด็กพิเศษ กับเด็กปกติ 
          *ควรเรียกเด็กพิเศษก่อนเด็กปกติ
          *ก่อนจะทำอะไรก็ตามครูควรเรียกชื่อเด็กก่อนเสมอ
          การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
          - เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
          - เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
          - คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
          การรับรู้ การเคลื่อนไหว
          ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น(ประสาทสัมผัสทั้ง5)
                                                  V
                                                  V
                         เด็กตอบสนองอย่างเหมาะสม
          การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
          เช่น การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก ศิลปะ มุมบ้าน ช่วยเหลือตนเอง ฯลฯ 
*เด็กพิเศษจะต้องฝึกตรงนี้เยอะๆ
          ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
          เช่น ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ ตัวต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก ฯลฯ
          ความจำ
          - เด็กจะจำจากการสนทนา "เมื่อเช้าหนูทานอะไร" "แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง"
          - จำตัวละครในนิทาน
          - จำชื่อครู ชื่อเพื่อน
          - เล่นเกมทายของที่หายไป
          ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
          เช่น การจำแนก การเปรียบเทียบ ฯลฯ
          สมมุติว่า ถ้าอยากให้น้องออฯเข้าใจคำว่าข้างบน ข้างล่าง ซึ่งตอนนั้นน้องกำลังปีนป่ายเครื่องเล่นอยู่ ก็ถามเด็กว่า 
"หนูปีนสูงมั้ยลูก สูงๆแบบนี้แสดงว่าหนูอยู่ข้างบนใช่มั้ย?" 
"หนูลงมาถึงพื้น แสดงว่าหนูอยู่ข้างล่างใช่มั้ย?"
          การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
          - จัดกลุ่มเด็ก
          - เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
          - ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
          เช่น มีผ้าสักหลาดสีแดงให้เด็ก แล้วบอกกับเด็กว่า "เดี๋ยวหนูมาทำงานบนผ้าสักหลาดสีแดงผืนนี้นะลูก"
          - ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
          - ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
          - บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
          - รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
          - มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
          - เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
          - พูดในทางที่ดี
          - จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
          - ทำบทเรียนให้สนุก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          นำตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษไปเป็นแนวทางในการหาสื่อ อุปกรณ์ ที่เหมาะสมกับเด็ก มาให้เด็กได้เล่น
          นำกิจกรรมต่างๆที่ช่วยในการควบคุมกล้ามเนื้อเด็ก ไปสอดแทรกในแต่ละกิจกรรมได้
          ในขณะเด็กกำลังเล่น คุณครูก็สามารถเข้าไปให้ความรู้กับเด็กได้

ประเมินการเรียนการสอน
          ตนเอง ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ
          เพื่อน ทุกคนให้ความร่วมมือในขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
          ผู้สอน อาจารย์สอนดีเหมือนทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์และมีการนำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนการสอน ทำให้เข้าใจได้ง่ายคะ

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 31 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากต้องจัดเตรียมงานกีฬาสีคะ


อนุทินครั้งที่11

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 24 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนคะ เนื่องจากเป็นช่วงของการสอบ

อนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์ก็ได้ให้เล่นเกมทายใจ "ไร่สตรอว์เบอร์รี่"คะ สนุกมากเลยคะ จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหา
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
          เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด เช่น การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว และกิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน 
"ให้เค้าสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำอะไรได้โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น"
          การสร้างความอิสระ
          - เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
          - อยากทำงานตามความสามารถ
          - เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน พี่ และผู้ใหญ่
          ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
          การที่เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเองแล้วสำเร็จ จะทำให้เค้ามีความเชื่อมั่นในตนเอง และเค้าก็จะได้เรียนรู้การมีความรู้สึกที่ดี
          หัดให้เด็กทำเอง
          - ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) ถ้าอยากเข้าไปช่วยเค้าให้คิดอยู่เสมอว่า"ควรให้เค้าทำเอง"
          - เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเค้าทำ 
          - "หนูทำช้า"หรือ"หนูยังทำไม่ได้" คำพูดเหล่านี้อย่าพูดกับเด็กเด็ดขาด
          อาจารย์ยกตัวอย่างการเลี้ยงดูเด็กญี่ปุ่น กับ เด็กไทย
          เด็กไทย : พ่อแม่ป้อนข้าวให้ อุ้มไปส่งที่ห้อง แต่งตัวให้ลูก
          เด็กญี่ปุ่น : พ่อแม่ปั่นจักรยานมาส่งหน้าโรงเรียนให้เด็กเดินเข้าไปในห้องเรียนเอง แต่งตัวเอง
          *สุดท้ายเด็กญี่ปุ่นมีพัฒนาการที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเด็กไทย
          จะช่วยเมื่อไหร่
          - ในช่วงที่เด็กไม่อยากทำอะไร เบื่อ หงุดหงิด หรือไม่ค่อยสบาย
          - ช่วงที่เด็กขอความช่วยเหลือถึงแม้ว่าบางครั้งสิ่งนั้นเค้าจะเคยเรียนรู้ไปแล้วก็ตาม
          - ช่วงที่เด็กต้องการให้ช่วย เพื่อให้เค้ารู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้
          - ในช่วงที่เด็กทำกิจกรรม
          ทักษะการช่วยเหลือตนเองในช่วงอายุ2-6ปี
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
          ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
          - แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อย(การย่อยงาน)
          - เรียงลำดับตามขั้นตอน
          ตัวอย่างการย่อยงาน
           การเข้าส้วม
          1.เข้าไปในห้องส้วม               2.ดึงกางเกงลงมา
          3.ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม           4.ปัสสาวะหรืออุจจาระ
          5.ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น      6.ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
          7.กดชักโครกหรือตักน้ำราด  8.ดึงกางเกงขึ้น
          9.ล้างมือ               10.เช็ดมือ              11.เดินออกจากห้องส้วม
          การวางแผนทีละขั้น
          แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
          *ถ้าเข้าไปหาเด็กควรวางแผนล่วงหน้าและเตรียมแผนสำรองไว้เสมอ
          สรุป
          - ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
          - ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
          - ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล>>สำคัญ
          - ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
          - เด็กจะรู้สึกเป็นอิสระ เมื่อเค้าพึ่งตนเองได้
กิจกรรมในห้องเรียน
          อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้ระบายสีเป็นวงกลม ตั้งแต่วงเล็กแล้วระบายวนไปเรื่อยๆ โดยจะใช้สีอะไรก็ได้ พอได้ขนาดวงกลมที่ต้องการก็ตัดส่วนนอกออก ก็จะได้แบบนี้
          จากนั้นอาจารย์ก็นำกระดาษสีน้ำตาลที่ตัดเป็นรูปต้นไม้มาติดไว้ที่กระดานหน้าห้อง แล้วให้แต่ละคนนำชิ้นงานของตนเองไปติดเพื่อให้เกิดเป็นรูปต้นไม้แบบนี้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำวิธีการย่อยงานไปใช้กับเด็กได้
          ได้ทราบถึงช่วงเวลาที่จะช่วยเหลือเด็ก ว่าควรช่วยเค้าเมื่อไหร่

ประเมินการเรียนการสอน
          ตนเอง เข้าเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีคะ
          เพื่อน เพื่อนๆส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจกันเรียนดีคะ
          ผู้สอน อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีคะ