บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์ก็ได้ให้เล่นเกมทายใจ "ไร่สตรอว์เบอร์รี่"คะ สนุกมากเลยคะ จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหา
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด เช่น การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว และกิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
"ให้เค้าสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำอะไรได้โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น"
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน พี่ และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
การที่เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเองแล้วสำเร็จ จะทำให้เค้ามีความเชื่อมั่นในตนเอง และเค้าก็จะได้เรียนรู้การมีความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) ถ้าอยากเข้าไปช่วยเค้าให้คิดอยู่เสมอว่า"ควรให้เค้าทำเอง"
- เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเค้าทำ
- "หนูทำช้า"หรือ"หนูยังทำไม่ได้" คำพูดเหล่านี้อย่าพูดกับเด็กเด็ดขาด
อาจารย์ยกตัวอย่างการเลี้ยงดูเด็กญี่ปุ่น กับ เด็กไทย
เด็กไทย : พ่อแม่ป้อนข้าวให้ อุ้มไปส่งที่ห้อง แต่งตัวให้ลูก
เด็กญี่ปุ่น : พ่อแม่ปั่นจักรยานมาส่งหน้าโรงเรียนให้เด็กเดินเข้าไปในห้องเรียนเอง แต่งตัวเอง
*สุดท้ายเด็กญี่ปุ่นมีพัฒนาการที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเด็กไทย
จะช่วยเมื่อไหร่
- ในช่วงที่เด็กไม่อยากทำอะไร เบื่อ หงุดหงิด หรือไม่ค่อยสบาย
- ช่วงที่เด็กขอความช่วยเหลือถึงแม้ว่าบางครั้งสิ่งนั้นเค้าจะเคยเรียนรู้ไปแล้วก็ตาม
- ช่วงที่เด็กต้องการให้ช่วย เพื่อให้เค้ารู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้
- ในช่วงที่เด็กทำกิจกรรม
ทักษะการช่วยเหลือตนเองในช่วงอายุ2-6ปี
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อย(การย่อยงาน)
- เรียงลำดับตามขั้นตอน
ตัวอย่างการย่อยงาน
การเข้าส้วม
1.เข้าไปในห้องส้วม 2.ดึงกางเกงลงมา
3.ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม 4.ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5.ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น 6.ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.กดชักโครกหรือตักน้ำราด 8.ดึงกางเกงขึ้น
9.ล้างมือ 10.เช็ดมือ 11.เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
*ถ้าเข้าไปหาเด็กควรวางแผนล่วงหน้าและเตรียมแผนสำรองไว้เสมอ
สรุป
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
- ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล>>สำคัญ
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
- เด็กจะรู้สึกเป็นอิสระ เมื่อเค้าพึ่งตนเองได้
กิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้ระบายสีเป็นวงกลม ตั้งแต่วงเล็กแล้วระบายวนไปเรื่อยๆ โดยจะใช้สีอะไรก็ได้ พอได้ขนาดวงกลมที่ต้องการก็ตัดส่วนนอกออก ก็จะได้แบบนี้
จากนั้นอาจารย์ก็นำกระดาษสีน้ำตาลที่ตัดเป็นรูปต้นไม้มาติดไว้ที่กระดานหน้าห้อง แล้วให้แต่ละคนนำชิ้นงานของตนเองไปติดเพื่อให้เกิดเป็นรูปต้นไม้แบบนี้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีการย่อยงานไปใช้กับเด็กได้
ได้ทราบถึงช่วงเวลาที่จะช่วยเหลือเด็ก ว่าควรช่วยเค้าเมื่อไหร่
ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง เข้าเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีคะ
เพื่อน เพื่อนๆส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจกันเรียนดีคะ
ผู้สอน อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น