วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 7 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
          เป้าหมาย
          - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
          - มีความรู้สึกดีต่อเด็ก
          - เด็กรู้สึกว่า"ฉันทำได้ ฉันทำเป็น ไม่เห็นยากเลย"
          - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
          - อยากสำรวจ อยากทดลอง
          ช่วงความสนใจ
          - ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
          - จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
          *เด็กวัย3-5ขวบมีความสนใจนาน10 นาที
          *ฝึกให้เด็กมีความสนใจ 10-15 นาที
          *ถ้าจะเล่านิทานให้เด็กฟัง พยายามหาเรื่องที่สั้นๆ
          การเลียบแบบ
          เด็กพิเศษจะเรียนรู้จากพฤติกรรมการเลียนแบบจากเพื่อน รุ่นพี่ คุณครู หรือบุคคลรอบข้าง 
          เช่น ถ้าใช้น้องออฯไปหยิบสีให้ครูหน่อย ก็ใช้บัดดี้ของน้องออฯด้วย พยายามจับให้คู่กัน ระหว่างเด็กพิเศษ กับเด็กปกติ 
          *ควรเรียกเด็กพิเศษก่อนเด็กปกติ
          *ก่อนจะทำอะไรก็ตามครูควรเรียกชื่อเด็กก่อนเสมอ
          การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
          - เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
          - เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
          - คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
          การรับรู้ การเคลื่อนไหว
          ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น(ประสาทสัมผัสทั้ง5)
                                                  V
                                                  V
                         เด็กตอบสนองอย่างเหมาะสม
          การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
          เช่น การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก ศิลปะ มุมบ้าน ช่วยเหลือตนเอง ฯลฯ 
*เด็กพิเศษจะต้องฝึกตรงนี้เยอะๆ
          ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
          เช่น ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ ตัวต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก ฯลฯ
          ความจำ
          - เด็กจะจำจากการสนทนา "เมื่อเช้าหนูทานอะไร" "แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง"
          - จำตัวละครในนิทาน
          - จำชื่อครู ชื่อเพื่อน
          - เล่นเกมทายของที่หายไป
          ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
          เช่น การจำแนก การเปรียบเทียบ ฯลฯ
          สมมุติว่า ถ้าอยากให้น้องออฯเข้าใจคำว่าข้างบน ข้างล่าง ซึ่งตอนนั้นน้องกำลังปีนป่ายเครื่องเล่นอยู่ ก็ถามเด็กว่า 
"หนูปีนสูงมั้ยลูก สูงๆแบบนี้แสดงว่าหนูอยู่ข้างบนใช่มั้ย?" 
"หนูลงมาถึงพื้น แสดงว่าหนูอยู่ข้างล่างใช่มั้ย?"
          การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
          - จัดกลุ่มเด็ก
          - เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
          - ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
          เช่น มีผ้าสักหลาดสีแดงให้เด็ก แล้วบอกกับเด็กว่า "เดี๋ยวหนูมาทำงานบนผ้าสักหลาดสีแดงผืนนี้นะลูก"
          - ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
          - ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
          - บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
          - รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
          - มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
          - เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
          - พูดในทางที่ดี
          - จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
          - ทำบทเรียนให้สนุก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          นำตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษไปเป็นแนวทางในการหาสื่อ อุปกรณ์ ที่เหมาะสมกับเด็ก มาให้เด็กได้เล่น
          นำกิจกรรมต่างๆที่ช่วยในการควบคุมกล้ามเนื้อเด็ก ไปสอดแทรกในแต่ละกิจกรรมได้
          ในขณะเด็กกำลังเล่น คุณครูก็สามารถเข้าไปให้ความรู้กับเด็กได้

ประเมินการเรียนการสอน
          ตนเอง ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ
          เพื่อน ทุกคนให้ความร่วมมือในขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
          ผู้สอน อาจารย์สอนดีเหมือนทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์และมีการนำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนการสอน ทำให้เข้าใจได้ง่ายคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น