วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาการเรียน อาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการสอบบรรจุเข้ารับราชการครู และได้นำโทรทัศน์ครูมาให้นักศึกษาได้ดูกันคะ
ผลิบานผ่านมือครู
จังหวะกาย จังหวะชีวิต โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ
          คุณครูปิมปภา ใจสมัคร และคุณครูผกากานต์ น้อยเนียม คุณครูประจำชั้น อ.2 รร.อนุบาลบ้านพลอยภูมิ มีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมในชั้นเรียน คุณครูทั้งสองท่านได้เข้าอบรมในโครงการบูรณาการดนตรีสู่ห้องเรียน การใช้ดนตรีเพื่อการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัย และเด็กพิเศษ ของคุณครูฐานันดร ชูประกาย จึงต่อยอดการนำดนตรี และการเคลื่อนไหวมาใช้อย่างมีเป้าหมาย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ และเรียนรู้
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย
ทักษะภาษา
          การวัดความสามารถทางภาษา
          - เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
          - ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
          - ถามหาสิ่งต่างๆไหม
          - บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
          - ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
          การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
          - การพูดตกหล่น
          - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
          - ติดอ่าง
          การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่
          - ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด>>ให้ฟังว่าเค้าพูดปกติอย่าให้เค้ารู้สึกว่าเป็นปมด้อย
          - ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด">>เป็นธรรมชาติของเด็กที่เค้าพูดแบบนี้
          - อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
          - อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
          - ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กปกติ
          - เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
          ทักษะพื้นฐานทางภาษา
          - ทักษะการรับรู้ภาษา
          - การแสดงออกทางภาษา
          - การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
          แบบทดสอบว่าเด็กรับรู้หรือไม่
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
*ไม่มีเกณฑ์การวัดคะแนนใช้ไว้ดูคร่าวๆ
*ถ้าไม่ทุกข้อแสดงว่าเด็กน่าเป็นห่วง
          ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
          - การรับรู้ทางภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
          - ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
          - ให้เวลาเด็กได้พูด
          - คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจำเป็น)
          - เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว(ครูไม่พูดมากเกินไป)
          - เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
          - ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อที่เด็กได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
          - ให้เด็กรู้จักถาม รู้จักบอก
          - เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
          - ใช้คำถามปลายเปิด
          - เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
          - ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
          การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
          ถ้าเด็กกำลังใส่ผ้ากันเปื้อน หรือ ติดกระดุมไม่ได้ ครูควรเข้าไปถามเด็ก แล้วพูดบอกบทกับเด็ก
กิจกรรมในห้องเรียน
กิจกรรม ดนตรีบำบัด
          อาจารย์ให้จับคู่แล้วแจกกระดาษคู่ละ 1 แผ่น แล้วสีเทียนคนละ1 แท่ง ต่อมาอาจารย์จะเปิดเพลงแล้วให้นำสีเทียนลากเป็นเส้นตรงห้ามเป็นเส้นโค้งบนกระดาษ จนจบเพลง จากนั้นให้ทั้งคู่ช่วยกันระบายสีในแต่ละช่องให้สวยงาม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำความรู้เรื่องการวัดความสามารถทางภาษา ใช้วัดกับเด็กพิเศษได้
          ได้รู้ถึงข้อปฎิบัติของครูที่จะต้องนำไปปฎิบัติต่อเด็กพิเศษ ในเรื่องของการใช้ภาษา
          สามารถนำแบบทดสอบไว้ใช้สำรวจพฤติกรรมของเด็กได้
          
ประเมินการเรียนการสอน
          ตนเอง เข้าเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
          เพื่อน ทุกคนให้ความร่วมมือในชั้นเรียนเป็นอย่างดี
          ผู้สอน อาจารย์จัดเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี สอนเข้าใจง่าย มีการนำกิจกรรมนอกเนื้อหามาให้นักศึกษาได้เล่นกันเพื่อคลายเครียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น