วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่16

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 30 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
วันนี้อาจารย์ให้สอบร้องเพลงคะ โดยที่เราจะต้องออกไปจับฉลากว่าได้เพลงอะไร และวันนี้การร้องเพลงของดิฉันก็ผ่านไปได้ด้วยดีคะ
 

อนุทินครั้งที่15

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program)
          แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
          การเขียนแผน IEP
          - คัดแยกเด็กพิเศษ
          - ครูต้องรู้ปัญหาของเด็ก
          - ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ เพื่อที่จะได้ทราบว่าต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
          - เด็กสามารถทำอะไรได้ เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
          - แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
          IEP ประกอบด้วย
          - ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
          - เด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
          - ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
          - เป้าหมายระยะยาว/ระยะสั้น
          - วัน/เดือน/ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
          - วิธีการประเมินผล
          ประโยชน์ต่อเด็ก
          - ได้รับรู้ความสามารถของตน
          - มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
          - ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
          - ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉย
          ประโยชน์ต่อครู
          - เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
          - เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
          - ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
          - เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
          - ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
          ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
          ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
          1.การรวบรวมข้อมูล
          - รายงานทางการแพทย์
          - รายงานการประเมินด้านต่างๆ
          - บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
          2.การจัดทำแผน
          - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
          - กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น
          - กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
          - ต้องได้รับการรับรองแผนIEPจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
          >>การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                จุดมุ่งหมายระยะยาว
                กำหนดให้ชัดเจนแม้จะกว้าง
                จุดมุ่งหมายระยะสั้น
                - ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
                - เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วันหรือ 2-3 สัปดาห์
                - จะสอนใคร
                - พฤติกรรมอะไร
                - เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
                - พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
          3.การใช้แผน
          - เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้เป็นแผนระยะสั้น
          - นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
          - แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
          - จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน
          - ต้องมีการสังเกต รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเด็ก และความสามารถโดยคำนึงถึง
                1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
                2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการของเด็ก
                3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
          4.การประเมินผล
          - โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
          - ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
          *การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีการวัดและประเมินที่แตกต่างกัน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         นำวิธีการเขียนแผนIEPไปใช้กับเด็กพิเศษได้

ประเมินการเรียนการสอน
          ตนเอง ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ
          เพื่อน ทุกคนให้ความร่วมมือในขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
          ผู้สอน อาจารย์สอนดีเหมือนทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์และมีการนำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนการสอน ทำให้เข้าใจได้ง่ายคะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่14

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 14 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดวันสงกรานต์คะ

อนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 7 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
          เป้าหมาย
          - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
          - มีความรู้สึกดีต่อเด็ก
          - เด็กรู้สึกว่า"ฉันทำได้ ฉันทำเป็น ไม่เห็นยากเลย"
          - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
          - อยากสำรวจ อยากทดลอง
          ช่วงความสนใจ
          - ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
          - จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
          *เด็กวัย3-5ขวบมีความสนใจนาน10 นาที
          *ฝึกให้เด็กมีความสนใจ 10-15 นาที
          *ถ้าจะเล่านิทานให้เด็กฟัง พยายามหาเรื่องที่สั้นๆ
          การเลียบแบบ
          เด็กพิเศษจะเรียนรู้จากพฤติกรรมการเลียนแบบจากเพื่อน รุ่นพี่ คุณครู หรือบุคคลรอบข้าง 
          เช่น ถ้าใช้น้องออฯไปหยิบสีให้ครูหน่อย ก็ใช้บัดดี้ของน้องออฯด้วย พยายามจับให้คู่กัน ระหว่างเด็กพิเศษ กับเด็กปกติ 
          *ควรเรียกเด็กพิเศษก่อนเด็กปกติ
          *ก่อนจะทำอะไรก็ตามครูควรเรียกชื่อเด็กก่อนเสมอ
          การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
          - เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
          - เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
          - คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
          การรับรู้ การเคลื่อนไหว
          ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น(ประสาทสัมผัสทั้ง5)
                                                  V
                                                  V
                         เด็กตอบสนองอย่างเหมาะสม
          การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
          เช่น การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก ศิลปะ มุมบ้าน ช่วยเหลือตนเอง ฯลฯ 
*เด็กพิเศษจะต้องฝึกตรงนี้เยอะๆ
          ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
          เช่น ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ ตัวต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก ฯลฯ
          ความจำ
          - เด็กจะจำจากการสนทนา "เมื่อเช้าหนูทานอะไร" "แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง"
          - จำตัวละครในนิทาน
          - จำชื่อครู ชื่อเพื่อน
          - เล่นเกมทายของที่หายไป
          ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
          เช่น การจำแนก การเปรียบเทียบ ฯลฯ
          สมมุติว่า ถ้าอยากให้น้องออฯเข้าใจคำว่าข้างบน ข้างล่าง ซึ่งตอนนั้นน้องกำลังปีนป่ายเครื่องเล่นอยู่ ก็ถามเด็กว่า 
"หนูปีนสูงมั้ยลูก สูงๆแบบนี้แสดงว่าหนูอยู่ข้างบนใช่มั้ย?" 
"หนูลงมาถึงพื้น แสดงว่าหนูอยู่ข้างล่างใช่มั้ย?"
          การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
          - จัดกลุ่มเด็ก
          - เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
          - ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
          เช่น มีผ้าสักหลาดสีแดงให้เด็ก แล้วบอกกับเด็กว่า "เดี๋ยวหนูมาทำงานบนผ้าสักหลาดสีแดงผืนนี้นะลูก"
          - ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
          - ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
          - บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
          - รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
          - มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
          - เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
          - พูดในทางที่ดี
          - จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
          - ทำบทเรียนให้สนุก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          นำตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษไปเป็นแนวทางในการหาสื่อ อุปกรณ์ ที่เหมาะสมกับเด็ก มาให้เด็กได้เล่น
          นำกิจกรรมต่างๆที่ช่วยในการควบคุมกล้ามเนื้อเด็ก ไปสอดแทรกในแต่ละกิจกรรมได้
          ในขณะเด็กกำลังเล่น คุณครูก็สามารถเข้าไปให้ความรู้กับเด็กได้

ประเมินการเรียนการสอน
          ตนเอง ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ
          เพื่อน ทุกคนให้ความร่วมมือในขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
          ผู้สอน อาจารย์สอนดีเหมือนทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์และมีการนำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนการสอน ทำให้เข้าใจได้ง่ายคะ

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 31 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากต้องจัดเตรียมงานกีฬาสีคะ


อนุทินครั้งที่11

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 24 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนคะ เนื่องจากเป็นช่วงของการสอบ

อนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์ก็ได้ให้เล่นเกมทายใจ "ไร่สตรอว์เบอร์รี่"คะ สนุกมากเลยคะ จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหา
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
          เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด เช่น การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว และกิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน 
"ให้เค้าสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำอะไรได้โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น"
          การสร้างความอิสระ
          - เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
          - อยากทำงานตามความสามารถ
          - เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน พี่ และผู้ใหญ่
          ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
          การที่เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเองแล้วสำเร็จ จะทำให้เค้ามีความเชื่อมั่นในตนเอง และเค้าก็จะได้เรียนรู้การมีความรู้สึกที่ดี
          หัดให้เด็กทำเอง
          - ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) ถ้าอยากเข้าไปช่วยเค้าให้คิดอยู่เสมอว่า"ควรให้เค้าทำเอง"
          - เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเค้าทำ 
          - "หนูทำช้า"หรือ"หนูยังทำไม่ได้" คำพูดเหล่านี้อย่าพูดกับเด็กเด็ดขาด
          อาจารย์ยกตัวอย่างการเลี้ยงดูเด็กญี่ปุ่น กับ เด็กไทย
          เด็กไทย : พ่อแม่ป้อนข้าวให้ อุ้มไปส่งที่ห้อง แต่งตัวให้ลูก
          เด็กญี่ปุ่น : พ่อแม่ปั่นจักรยานมาส่งหน้าโรงเรียนให้เด็กเดินเข้าไปในห้องเรียนเอง แต่งตัวเอง
          *สุดท้ายเด็กญี่ปุ่นมีพัฒนาการที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเด็กไทย
          จะช่วยเมื่อไหร่
          - ในช่วงที่เด็กไม่อยากทำอะไร เบื่อ หงุดหงิด หรือไม่ค่อยสบาย
          - ช่วงที่เด็กขอความช่วยเหลือถึงแม้ว่าบางครั้งสิ่งนั้นเค้าจะเคยเรียนรู้ไปแล้วก็ตาม
          - ช่วงที่เด็กต้องการให้ช่วย เพื่อให้เค้ารู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้
          - ในช่วงที่เด็กทำกิจกรรม
          ทักษะการช่วยเหลือตนเองในช่วงอายุ2-6ปี
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
          ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
          - แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อย(การย่อยงาน)
          - เรียงลำดับตามขั้นตอน
          ตัวอย่างการย่อยงาน
           การเข้าส้วม
          1.เข้าไปในห้องส้วม               2.ดึงกางเกงลงมา
          3.ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม           4.ปัสสาวะหรืออุจจาระ
          5.ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น      6.ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
          7.กดชักโครกหรือตักน้ำราด  8.ดึงกางเกงขึ้น
          9.ล้างมือ               10.เช็ดมือ              11.เดินออกจากห้องส้วม
          การวางแผนทีละขั้น
          แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
          *ถ้าเข้าไปหาเด็กควรวางแผนล่วงหน้าและเตรียมแผนสำรองไว้เสมอ
          สรุป
          - ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
          - ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
          - ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล>>สำคัญ
          - ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
          - เด็กจะรู้สึกเป็นอิสระ เมื่อเค้าพึ่งตนเองได้
กิจกรรมในห้องเรียน
          อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้ระบายสีเป็นวงกลม ตั้งแต่วงเล็กแล้วระบายวนไปเรื่อยๆ โดยจะใช้สีอะไรก็ได้ พอได้ขนาดวงกลมที่ต้องการก็ตัดส่วนนอกออก ก็จะได้แบบนี้
          จากนั้นอาจารย์ก็นำกระดาษสีน้ำตาลที่ตัดเป็นรูปต้นไม้มาติดไว้ที่กระดานหน้าห้อง แล้วให้แต่ละคนนำชิ้นงานของตนเองไปติดเพื่อให้เกิดเป็นรูปต้นไม้แบบนี้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำวิธีการย่อยงานไปใช้กับเด็กได้
          ได้ทราบถึงช่วงเวลาที่จะช่วยเหลือเด็ก ว่าควรช่วยเค้าเมื่อไหร่

ประเมินการเรียนการสอน
          ตนเอง เข้าเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีคะ
          เพื่อน เพื่อนๆส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจกันเรียนดีคะ
          ผู้สอน อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีคะ

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาการเรียน อาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการสอบบรรจุเข้ารับราชการครู และได้นำโทรทัศน์ครูมาให้นักศึกษาได้ดูกันคะ
ผลิบานผ่านมือครู
จังหวะกาย จังหวะชีวิต โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ
          คุณครูปิมปภา ใจสมัคร และคุณครูผกากานต์ น้อยเนียม คุณครูประจำชั้น อ.2 รร.อนุบาลบ้านพลอยภูมิ มีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมในชั้นเรียน คุณครูทั้งสองท่านได้เข้าอบรมในโครงการบูรณาการดนตรีสู่ห้องเรียน การใช้ดนตรีเพื่อการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัย และเด็กพิเศษ ของคุณครูฐานันดร ชูประกาย จึงต่อยอดการนำดนตรี และการเคลื่อนไหวมาใช้อย่างมีเป้าหมาย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ และเรียนรู้
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย
ทักษะภาษา
          การวัดความสามารถทางภาษา
          - เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
          - ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
          - ถามหาสิ่งต่างๆไหม
          - บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
          - ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
          การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
          - การพูดตกหล่น
          - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
          - ติดอ่าง
          การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่
          - ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด>>ให้ฟังว่าเค้าพูดปกติอย่าให้เค้ารู้สึกว่าเป็นปมด้อย
          - ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด">>เป็นธรรมชาติของเด็กที่เค้าพูดแบบนี้
          - อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
          - อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
          - ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กปกติ
          - เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
          ทักษะพื้นฐานทางภาษา
          - ทักษะการรับรู้ภาษา
          - การแสดงออกทางภาษา
          - การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
          แบบทดสอบว่าเด็กรับรู้หรือไม่
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
*ไม่มีเกณฑ์การวัดคะแนนใช้ไว้ดูคร่าวๆ
*ถ้าไม่ทุกข้อแสดงว่าเด็กน่าเป็นห่วง
          ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
          - การรับรู้ทางภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
          - ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
          - ให้เวลาเด็กได้พูด
          - คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจำเป็น)
          - เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว(ครูไม่พูดมากเกินไป)
          - เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
          - ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อที่เด็กได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
          - ให้เด็กรู้จักถาม รู้จักบอก
          - เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
          - ใช้คำถามปลายเปิด
          - เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
          - ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
          การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
          ถ้าเด็กกำลังใส่ผ้ากันเปื้อน หรือ ติดกระดุมไม่ได้ ครูควรเข้าไปถามเด็ก แล้วพูดบอกบทกับเด็ก
กิจกรรมในห้องเรียน
กิจกรรม ดนตรีบำบัด
          อาจารย์ให้จับคู่แล้วแจกกระดาษคู่ละ 1 แผ่น แล้วสีเทียนคนละ1 แท่ง ต่อมาอาจารย์จะเปิดเพลงแล้วให้นำสีเทียนลากเป็นเส้นตรงห้ามเป็นเส้นโค้งบนกระดาษ จนจบเพลง จากนั้นให้ทั้งคู่ช่วยกันระบายสีในแต่ละช่องให้สวยงาม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำความรู้เรื่องการวัดความสามารถทางภาษา ใช้วัดกับเด็กพิเศษได้
          ได้รู้ถึงข้อปฎิบัติของครูที่จะต้องนำไปปฎิบัติต่อเด็กพิเศษ ในเรื่องของการใช้ภาษา
          สามารถนำแบบทดสอบไว้ใช้สำรวจพฤติกรรมของเด็กได้
          
ประเมินการเรียนการสอน
          ตนเอง เข้าเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
          เพื่อน ทุกคนให้ความร่วมมือในชั้นเรียนเป็นอย่างดี
          ผู้สอน อาจารย์จัดเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี สอนเข้าใจง่าย มีการนำกิจกรรมนอกเนื้อหามาให้นักศึกษาได้เล่นกันเพื่อคลายเครียด

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่8

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 3 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอาจารย์ได้นำกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้เล่นกันอย่างสนุกสนาน โดยจะเป็นเกมทายใจ"รถไฟเหาะ แห่งชีวิต" สนุกสนานมากคะ พอจบกิจกรรมก็เข้าสู่เนื้อหาดังนี้คะ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางสังคม
          เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ และสภาพทางสังคมไม่ได้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมมากนัก
          *ควรปรับที่ตัวเด็ก
          *ไม่ต้องปรับสภาพแวดล้อมเพราะมันไม่ค่อยมีผลมากนัก
          กิจกรรมการเล่น
          - การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
          - เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
          - ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นๆเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง ฯลฯ
          ยุทธศาสตร์การสอน
          - เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร แต่จะเล่นโดยการเลียนแบบเพื่อน
          - ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
          - บอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
          - ครูควรจดบันทึกพฤติกรรมเด็กไว้ เห็นอะไรก็บันทึกไว้อย่าให้พลาด
          - ทำแผนIEPเด็กปกติก็ใช้ได้
          การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
          - วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
          - คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
          - ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ2-4คน จำนวนเด็กปกติควรมากกว่าเด็กพิเศษ
          - เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ
          ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
          - อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองเด็กอย่างสนใจ เวลาดูกลุ่มเด็กอย่าหันหลังให้เด็กกลุ่มอื่นเด็ดขาด และพยายามให้เด็กรู้สึกว่าทุกคนในห้องอยู่ในสายตาครู
          - ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป ควรชมเฉพาะเป้าหมายที่ตั้งไว้
          - เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
          - ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
          การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
          - ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
          - ทำโดย"การพูดนำของครู" ถ้าเด็กไม่สามารถบอกบรรยายภาพได้ครูควรพูดบอกบทเด็ก *การบอกบทสำคัญมากสำหรับเด็กพิเศษ
          หากครูสังเกตุเห็นเด็กยืนมองกลุ่มเพื่อนดังภาพข้างบน ครูควรพาเด็กเข้าไปเล่นกับเพื่อนด้วย แต่ถ้าเด็กเข้าไปเล่นตัวเปล่าคงไม่เวิร์ค ครูควรจะให้เด็กถือของเล่นที่น่าสนใจเข้าไปด้วย เพื่อเรียกความสนใจจากเพื่อนๆในกลุ่ม
          *การประคองจับมือช่วยเด็กเป็นอะไรที่สำคัญมาก
          ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
          - ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
          - การให้โอกาสเด็ก
          - เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
          - ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
          *ห้ามให้เด็กพิเศษมีอภิสิทธิ์ใดๆเหนือกว่าเด็กปกติ
          *เด็กทุกคนเท่าเทียมกัน
กิจกรรมในห้องเรียน
กิจกรรม ดนตรีบำบัด
          อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กันและแจกกระดาษ1แผ่น และไปหยิบสีเทียนคนละ1สี ต่อจากนั้นให้ตกลงกันว่าใครจะวาดเส้น ใครจะวาดจุด
          ต่อจากนั้นอาจารย์จะเปิดเพลงแล้วให้วาดเส้นไปตามความรู้สึกตามเสียงเพลง โดยไม่ต้องยกมือ ส่วนคนที่วาดจุดก็จุดลงในช่องที่เป็นเส้นรูปวงกลม
          พอวาดเสร็จก็ช่วยกันดูว่ามีภาพอะไรที่ปรากฎในภาพนี้บ้าง แล้วระบายสีให้เป็นภาพที่เราเห็นให้สวยงาม
          สุดท้ายให้เอาผลงานออกไปโชว์ และอธิบายผลงานของตนเอง
          กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้นั่นก็คือ ร้องเพลงคะ โดยมีเพลงที่ร้องดังต่อไปนี้
ผู้แต่ง : อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง : อ.ตฤณ  แจ่มถิน
เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า 
บ่งเวลาว่า กลางวัน
เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงแพรวตาเวลาค่ำคืน
เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ
เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน
เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู
เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ จริงเอย
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะทางสังคมให้แก่เด็กพิเศษไปปรับใช้ในการสอนได้
          ได้รู้วิธีการพาเด็กพิเศษเข้าไปเล่นร่วมกับกลุ่มเพื่อนได้อย่างถูกวิธี
          สามารถนำเพลงไปใช้ร้องกับเด็กได้

ประเมินการเรียนการสอน
          ตนเอง วันนี้เข้าเรียนสายจึงไม่ได้ตัวปั๊ม แต่ก็ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
          เพื่อน ให้ความร่วมมือในชั้นเรียนดี
          ผู้สอน อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนมาอย่างดี มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาเล่นอย่างสนุกสนาน เรียนเพลินมากเลยคะ